วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 4 กลยุทธิ์การสอน


บทที่ 4
กลยุทธิ์การสอน
            กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ (อังกฤษ: Strategies of Learning Management) คือทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน รูปแบบการเรียนรู้และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบรวม การใช้ กาารเลือก การผลิตสื่อ และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เทคนิคและวิทยาการการจัดการเรียนรู้ รอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและกลยุทธ์การสอนเพื่อให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน การนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการเรียนรู้รายภาค ปฏิบัติการออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อการสอนสำหรับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียน กิจกรรมที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการประเมินผล ปฏิบัติการจัดการชั้นเรียนและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการเรียนรู้และพัฒนาด้านอารมณ์ สังคม
1. สภาวะการเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนปกติ




2. ความต้องการทฤษฎีการสอน
ความหมายของทฤษฎีการสอน
                   กานเยและดิค (Gagné & Dick, 1983, p. 263) กล่าวว่า ทฤษฎีการสอนคือ
ข้อความที่อธิบายเงื่อนไขการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ทำให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้นานและถ่ายโอนสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปสู่การเรียนรู้เรื่องใหม่ได้ ทฤษฎีการสอนพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์ของการเรียนการสอนกับกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้และการวิจัยเป็นแหล่งข้อมูล ทฤษฎีการสอนจึงเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างขั้นตอนที่ใช้ในการดำเนินการเรียนการสอนและพฤติกรรมการปฏิบัติของมนุษย์ซึ่งเป็นผลที่ตามมา
            สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 25) กล่าวว่า ทฤษฎีการสอนพยายามพรรณนาลักษณะของการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยชี้แจงให้รู้ว่าสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ลักษณะใดที่จะช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต้องการ
            ทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 476) กล่าวว่าทฤษฎีการสอน คือ ข้อความรู้ที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอนที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่ง ๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อย ๆหลายหลักการจากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าทฤษฎีการสอนเป็นข้อความที่บรรยายเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนหรือขั้นตอนของการดำเนินการเรียนการสอนที่สัมพันธ์กันและเป็นสาเหตุทำให้เกิดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทฤษฎีการสอนมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้และผ่านการวิจัย
ทดสอบจนเป็นที่ยอมรับ



3. ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
            ทฤษฎีการสอน (Teaching Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรรนา/อธิบาย/ทำนายปรากฎการณ์ต่างทางการสอนที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนให้เป้นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆมักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อยๆหลายหลักการ
4. ทฤษฎีการเรียนการสอน
               4.1 ทฤษฎีการสอนของกาเย่ (Gagne) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการรู้ กล่าวถึงการเรียนรู้ของบุคคลว่าจะเกิดขึ้นได้ดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยนู่กับสภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอกผู้เรียน (Internal and External Conditions) และเหตุการณ์ในการเรียน (Events of Lerning) จัดเป็นลำดับสภาพการณ์ในการเรียนรู้เป็น 9 ขั้น คือ
                1.1 การเร้าความสนใจ
                1.2 แจ้งจุดมุ่งหมายแก่ผู้เรียน
                1.3 สร้างสถานการณ์เพื่อดึงความรู้เดิม
                1.4 เสนอบทเรียน
                1.5 ชี้แนวทางการเรียนรู้
                1.6 ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
                1.7 การให้ข้อมูลย้อนกลับ
                1.8 การจัดการปฏิบัติ
                1.9 ย้ำให้เกิดความจำและการถ่ายโอนความรู้
  

     4.2 ทฤษฎีการสอนของเมอร์ริลไรเกลท (Merrill - Reigelath) แสดงทัศนะว่าการสอนเป็นกระบวนการที่เสนอเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและต่อเนื่อง ดังนี้
                2.1 เลือกหัวข้อปฏิบัติทั้งหลายที่จะสอนด้วยการวิเคราะห์ภารกิจ
                2.2 ตัดสินใจว่าจะสอนข้อภารกิจใดเป็นอันดับแรก
                2.3 จัดลำดับก่อนหลังของข้อภารกิจที่เหลือ
                2.4 ชี้บ่งเนื้อหาที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ
                2.5 จัดเนื้อหาเข้าบทเรียนและจัดลำดับบทเรียน
                2.6 จัดลำดับการสอนภายในบทเรียนต่าง ๆ
                2.7 ออกแบบการสอนในแต่ละบทเรียน

        4.3 ทฤษฎีการสอนของเคส (Case) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา

        4.4 ทฤษฎีการสอนของลันดา (Landa) เป็นการดำเนินการสอนโดยใช้การจัดลำดับขั้นการแก้ปัญหาโดยบ่งชี้กิจกรรมการเรียนก่อนที่ผู้เรียนจะลงมือเรียน และจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการตามที่ได้ออกแบบไว้
            การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละครั้งผู้สอนมักนำทฤษฎีการสอนทั้ง 4 ประการมาประยุกต์ใช้ในการสอนของตน การจะเลือกใช้ทฤษฎีการสอนใดนั้นควรขึ้นกับจุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์การสอนและเนื้อหาการสอนแต่ละครั้งอาจใช้ทฤษฎีการสอนหลายประการผสมผสานกันก็ได้ และจากทฤษฎีการสอนนี้ครูอาจารย์ ผู้สอน วิทยากรที่มีหน้าที่สอน และให้มีการอบรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจมองเห็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการสอน

สไตล์การเรียนรู้
             มนุษย์สามารถรับรู้ข้อมูล่านเส้นทางการรับรู้ข้อมูล 3 ทาง คือ การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual percepters) การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory percepters) และการรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู็สึก (Kinesthetic percepters) ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
             1. การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual learner) ผู้เรียนกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ดี ถ้าเรียนรู้จากรูปภาพ หรือแผนภูมิ แผนผัง หรือจากเนื้อหาที่เป็นเรื่องราว เวลาจะนึกถึงเหตุการณ์ใดก็จะจินตนาการภาพคล้ายกับเวลาที่ชมภาพยนต์ มองเห็นเป็นภาพที่สามารถเคลื่อนไหวบนจอฉายหนังได้ เนื่องจากระบบเก็บความจำได้จัดเก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้เป็นภาพ กลุ่มนี้จะเรียนได้ดี ถ้าผู้สอนบรรยายเป็นเรื่องราว และทำข้อสอบได้ดีถ้าผู้สอนออกข้อสอบเป็นเรื่องราว เวลาอ่านเนื้อหาในตำราเรียนที่บรรยายในลักษณะของความรู้ ก็จะนำเรื่องที่อ่านมาผูกโยงเป็นเรื่องราว เพื่อทำให้ตนสามารถจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
             2. ผู้ที่เรียนรู้โดยทางโสตประสาท (Auditory learner) กลุ่มนี้เรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าได้ฟังหรือพูด จะไม่สนใจรูปภาพ ไม่สร้างภาพ และไม่ผูกเรื่องราวในสมองเป็นภาพเหมือนพวกที่เรียนรู้ทางสายตา หรือชอบฟังเรื่องราวซ้ำๆ และชอบเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง คุณลักษณะพิเศษของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีทักษะในการได้ยิน/ได้ฟังที่เหนือกว่าคนอื่น ดังนั้น จึงสามารถเล่าเรื่องต่างๆ ได้อย่างละเอียดละออ และรู้จักเลือกใช้คำพูดได้อย่างสละสลวย ผู้เรียนกลุ่มนี้จะจดจำความรู้ได้ดีหากผู้สอนพูดให้ฟัง หากผู้สอนถามก็จะสามารถตอบได้ทันที
            3. ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic learner) กลุ่มนี้เรียนโดยผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก การเคลื่อนไหว และร่างกาย จึงสามารถจำจำสิ่งที่เรียนได้ดีหากได้มีการสัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียน เวลานั่งอยู่ในห้องเรียนจะนี่งอยู่ไม่เป็นสุข นั่งไม่ติดที่ ไม่สนใจบทเรียน และไม่สามารถทำใจให้จดจ่ออยู่กับบทเรียนเป็นเวลานานๆ ได้



ทักษะการสอน
หมายถึง ความชำนาญในพฤติกรรมการสอนแต่ละอย่างของผู้สอนที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การฝึกทักษะการสอนก็เพื่อให้ผู้ฝึกเกิดความคล่องแคล่วมั่นใจในการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองก่อนที่จะได้มีการสอนในชั้นเรียนทักษะสำคัญ ๆ ที่ผู้สอนทุกคนควรจะต้องฝึกปฏิบัติและคำนึงถึงในการสอนมี 9 ทักษะ ด้วยกัน คือ ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน การอธิบาย การใช้คำถาม การเสริมกำลังใจ ทักษะการสรุปบทเรียน ทักษะการเร้าความสนใจ ทักษะการใช้กระดานชอล์ก ทักษะการกระตุ้นให้คิด ทักษะการใช้สื่อการสอน  ซึ่ง   พฤติกรรมการสอนของผู้สอนในการใช้ทักษะการสอนต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อการช่วยสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอันมาก ทักษะแต่ละอย่างมีความสำคัญและสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการของเด็ก บทเรียน หรือวิธีสอนแต่ละอย่างได้
ทักษะสำคัญ ๆ ที่ผู้สอนทุกคนควรจะต้องฝึกปฏิบัติและคำนึงถึงในการสอนมี 9 ทักษะด้วยกัน คือ
1.  ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน (Set Induction)
2.  ทักษะการอธิบาย (Presentation)
3.  ทักษะการใช้คำถาม (Question)
4.  ทักษะการเสริมกำลังใจ (Reinforcement)
5.  ทักษะการสรุปบทเรียน (Set Closure)
6.  ทักษะการเร้าความสนใจ (Stimulation)
7.  ทักษะการใช้กระดานชอล์ก
8.  ทักษะการกระตุ้นให้คิด (Active Thinking)
9.  ทักษะการใช้สื่อการสอน (Media Presentation)

ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน
การนำเข้าสู่บทเรียน    เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนควรจะกระทำเมื่อจะเริ่มกิจกรรมการสอนใด ๆ   เพื่อเป็นการเร้าความสนใจและสร้างความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ถ้าจะเปรียบกับการเรียงความก็เสมือนเป็นคำนำหรือบทนำ การที่ผู้เรียนจะสนใจติดตามเรื่องราวหรือการสอนที่ผู้สอนนำเสนอหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอนได้นำเสนอสิ่งที่น่าดึงดูดความสนใจได้ดีหรือไม่ดี ส่วนวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดีหรือไม่ ถือเป็นศิลปะของผู้สอนนั้น ๆ ที่จะต้องฝึกฝนจนเกิดทักษะ  การนำเข้าสู่บทเรียนทำได้หลายวิธี เช่น ใช้การสนทนาซักถาม การทบทวนบทเรียนให้สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ การใช้เกม การตั้งปัญหาให้ร่วมกันอภิปราย การใช้สื่อการสอน โดยให้ดูภาพ ของจริง หรือดูวิดีทัศน์ เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของการนำเข้าสู่บทเรียน
1. เพื่อสร้างความพร้อมของความคิดด้วยการกล่าวถึงสิ่งที่ผู้เรียนเคยพบเคยเห็นมาก่อน
2. เพื่อนำเอาประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาสัมพันธ์กับแนวคิดใหม่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายตามหลักจิตวิทยาของออซูเบล
3. เพื่อสร้างบรรยากาศความอยากรู้อยากเห็น และอยากร่วมกิจกรรมกัน

คุณลักษณะที่ประเมิน
1. สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ได้
2. การใช้คำถามนำเข้าสู่เรื่องมีประสิทธิภาพ
3. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการนำเข้าสู่บทเรียนและเนื้อหาสำคัญของบทเรียน
4. บทสนทนาในเรื่องสนุกสนาน น่าสนใจ
5. สร้างบรรยากาศความอยากรู้อยากเห็นด้วยวิธีการต่าง ๆ
6. ความสำเร็จในการเร้าความสนใจเมื่อเริ่มต้นเรียน

การจัดการเรียนการสอน
            การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ ตามหลักสูตรแกนกลางมีมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนผู้สอนต้องพยายามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระเรียนรู้ รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์พัฒนาทักษะต่าง ๆ
อันเป็นสมรรถนะสำคัญที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน

1. หลักการจัดการเรียนรู้
การ จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง  เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม

2. กระบวนการเรียนรู้
การ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้  ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู้เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหากระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการกระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย กระบวนการเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนควรได้รับการ ฝึกฝนพัฒนาเพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
ผู้ สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่ง เป็นเป้าหมายที่กำหนด

4. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร ทั้งผู้สอนและผู้เรียนควรมีบทบาทดังนี้

4.1 บทบาทของผู้สอน
1) ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน การจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน
2) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ  ที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3) ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
4) จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
5) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
6) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน
7) วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุง   การจัดการเรียนการสอนของตนเอง

4. 2 บทบาทของผู้เรียน
1) กำหนดเป้าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
2) เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งคำถาม คิดหาคำคอบหรือหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ
3) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
4) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและครู
5) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง

การนำเสนอการสอน
            การนำเสนอการเรียนการสอน หลังที่ได้วางแผนและจัดรูปสำหรับการเรียนการสอนแล้วครูจะดำเนินการชี้นำประสบการณ์ในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนภายในชั้นเรียน การแนะนำเป็นการนำเสนอเป็นการแนะนำสารสนเทศ

5. หลักการเรียนรู้
              ความหมายของคำว่า “การเรียนรู้” มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ
                การเรียนรู้ หมายถึง   การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น
                การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม       เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
                การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถาณการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
                การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์
                การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม   หรือ   กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่มช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา
                การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
                การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม   ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด
                จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า   การเรียนรู้  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
            กระบวนการของการเรียนรู้
           กระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้คือ
          1.       มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism ) 
         2.       อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย
        3.       ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception ) 
        4.       สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด( Conception ) 
        5.       พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning )
        6.       เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ 

6. การวิจัยการเรียนรู้
                 การเรียนการสอนเป็นกระบวนการเพื่อหวังผลเชิงคุณภาพ ให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพ การพัฒนาการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่จะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน คือ ครู อาจารย์ ทั้งนี้ใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 มีจุดเน้นที่ครู อาจารย์ จะต้องมีความรอบรู้ในด้านต่างๆเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือ หลักการจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การประกันคุณภาพ หลักการจัดการเรียนรู้ในมโนทัศน์ใหม่เพื่อมุ่งสู่คุณภาพการศึกษา ครู อาจารย์ต้องมีบทบาทเป็นทั้งนักวิจัย และพัฒนาหลักสูตร เพื่อจะนำผลที่ได้ไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งการพัฒนาการเรียนการสอนจะต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการ ตั้งแต่การหาปัญหา การกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา การทดลองปฏิบัติการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา รวมทั้งการสรุปและรายงานผลเพื่อเป็นการยืนยันผลการกระทำ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็คือการวิจัยนั่นเอง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หรือการวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น